ประวัติ ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

ชาติภูมิ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ สมัยที่ยังเป็น พระมหาเกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9

สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่า เกี่ยว โชคชัย เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2471 นับแบบเก่า นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2472 (ตรงกับวันอาทิตย์ แรม 8 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง) [9]บ้านเฉวง ตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถือกำเนิดในครอบครัวชาวจีนไหหลำ เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนบุตร 7 คน ของนายอุ้ยเลี้ยน แซ่โหย่ (เลื่อน โชคชัย) และนางยี แซ่โหย่ (ยี โชคชัย) ครอบครัวโชคชัยมีอาชีพทำสวนมะพร้าว ปัจจุบันทายาทสกุลโชคชัยหรือแซ่โหย่เปลี่ยนนามสกุลนั้นเป็น โชคคณาพิทักษ์

อุปสมบท

เกี่ยว โชคชัย สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนประจำหมู่บ้าน ในปี พ.ศ. 2483 ก่อนที่จะถึงกำหนดวันเดินทางไปศึกษาต่อยังโรงเรียนในตัวเมืองสุราษฎร์ธานี เด็กชายเกี่ยวเกิดมีอาการป่วยไข้ขึ้นมาอย่างกะทันหัน บิดามารดาจึงบนบานว่า หากเด็กชายเกี่ยวหายจากป่วยไข้ ก็จะให้บวชเป็นเณร ภายหลังจากบนบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2484 ที่วัดสว่างอารมณ์ ตำบลบ่อผุด โดยมีเจ้าอธิการพัฒน์ เป็นพระอุปัชฌาย์[10]

ความตั้งใจเดิมของสามเณรเกี่ยว คือ การบวชแก้บนสัก 7 วัน แล้วก็จะลาสึกไปรับการศึกษาในฝ่ายโลก แต่เมื่อบวชแล้วได้เปลี่ยนใจ ไม่คิดจะสึกตามที่เคยตั้งใจไว้ โยมบิดามารดาจึงได้พาสามเณรเกี่ยวไปฝากกับพระครูอรุณกิจโกศล (พริ้ง โกสโล) เจ้าอาวาสวัดแจ้ง ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย[11]

วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร

ในเวลาต่อมา หลวงพ่อพริ้งได้นำไปฝากไว้กับอาจารย์เกตุ คณะ 5 ณ วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร แต่หลังจากนั้นเป็นเวลาไม่นาน กรุงเทพมหานครต้องประสบภัยจากสงครามโลกครั้งที่สอง กรุงเทพมหานครถูกเครื่องบินทิ้งระเบิด หลวงพ่อพริ้งจึงได้รับตัวพาไปฝากท่านอาจารย์มหากลั่น ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา[12] เมื่อสงครามสงบ หลวงพ่อพริ้งได้พากลับไปที่วัดสระเกศอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามในเวลานั้น ท่านอาจารย์เกตุ ได้ลาสิกขาบทไปแล้ว หลวงพ่อพริ้งจึงพาฝากไว้กับพระครูปลัดเทียบ (ซึ่งในเวลาต่อมาได้รับโปรดเกล้า ฯ สถาปนา เป็นพระธรรมเจดีย์ และเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ)[12]

ท่านได้ศึกษาธรรมะจนสอบได้นักธรรมชั้นเอก และศึกษาปริยัติธรรม สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค ตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณร[13] ต่อมา เมื่อมีอายุครบอุปสมบท ก็ได้อุปสมบทในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 ที่วัดสระเกศ โดยมีพระธรรมวโรดม (อยู่ ญาโณทโย) เป็นพระอุปัชฌาย์[13] จนถึงปี พ.ศ. 2497 สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค[14][15]

สมเด็จพระพุฒาจารย์ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี[16] และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ[17]

ใกล้เคียง

สมเด็จพระพุฒาจารย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทฺธสโร) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม ธมฺมสโร) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (วน ฐิติญาโณ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เขียว จนฺทสิริ)

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) http://202.44.204.76/cgi-bin/kratoo.pl/011196.htm http://202.57.155.219/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9... http://news.ch7.com/detail/41521/%E0%B8%AA%E0%B8%A... http://news.ch7.com/detail/42072/%E0%B8%AD%E0%B8%8... http://news.ch7.com/detail/46616/%E0%B8%AD%E0%B8%8... http://news.ch7.com/detail/53179/%E0%B8%AD%E0%B8%8... http://news.ch7.com/detail/63944/%E0%B8%AA%E0%B8%A... http://www.jariyatam.com/news/education-news/1067-... http://www.komchadluek.com/column/pra/2005/03/17/0... http://www.managerradio.com/Radio/DetailRadio.asp?...